'อย่ามาขิง' ประโยคที่เพื่อน ๆ น่าจะเคยได้ยินบ่อย ๆ สมัยนี้ เราใช้ขิงในชีวิตประจำวันมากมายหลายอย่าง เป็นเครื่องเทศให้กับมื้ออาหารหรือดื่มชาร้อน ๆ แต่ประเด็นที่น่าสนใจเคือ 'ประโยชน์ที่ขิงมีต่อสุขภาพ'
มีการวิจัยมากมายระบุไว้ว่าขิงมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านเชื้อรา บรรเทาอาการปวด แก้ร้อนใน และระงับอาการเมารถ ขิงได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเมารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด เสริมสร้างหัวใจ หลอดเลือดแดง เส้นเลือดฝอย และปรับปรุงการไหลเวียนโลหิต
แถมยังมีงานวิจัยจาก Pain Medicine ในปี 2015 ได้ทบทวนการทดลองกับกลุ่มควบคุม 7 กลุ่ม เพื่อค้นหาหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการบริโภคขิงผง ในช่วงสองสามวันแรกของรอบเดือนอาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้
คำว่า 'ขิง' มาจากภาษาสันสกฤต Singabera หมายถึง 'มีรูปร่างเหมือนเขาสัตว์' และเป็นสมาชิกของตระกูลพืชจำพวกกระวานและขมิ้น แม้แต่กล้วยก็เป็นญาติห่าง ๆ กับขิง แต่ผิดแปลกจากพืชส่วนใหญ่ ขิงจะไม่เติบโตในป่าและไม่สามารถเติบโตจากเมล็ดได้ แต่ต้องปลูกฝังโดยแบ่งราก ต้นกำเนิดของมันไม่แน่นอน แต่เติบโตได้ดีในดินที่อุดมสมบูรณ์บนที่สูงและมีฝนตกชุก โดยแทบไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง เนื่องจากมีศัตรูธรรมชาติเพียงไม่กี่อย่าง ปัจจุบันอินเดียเป็นผู้ผลิตขิงรายใหญ่ที่สุดของโลก
ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมขิงมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์มากว่า 2,000 ปี ยิ่งไปกว่านั้นมีการค้นพบว่าชาวจีนได้ใช้ขิงมานานกว่า 4,000 ปี ขงจื๊อนักปราชญ์ชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ก็ยืนกรานว่าขิงจะใช้ในการประกอบอาหารในทุก ๆ มื้อ จากต้นกำเนิดจนถึงปัจจุบัน ขิงเป็นสมุนไพรที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก
ป.ล. รู้ไหม ว่า 'ทำไมขิงจัง' หรือ 'อย่ามาขิง' มาจากคำผวน ของ 'สิงห์ขี้คุย' ว่า 'ซุยขี้ขิง' หลัง ๆ เอามาใช้กันว่า อย่ามาขิง แต่เมื่อก่อนใช้คำว่า อย่ามาซุย หรือง่าย ๆ คือแปลว่าอวดครับ แต่ถ้าขิงมีประโยชน์ขนาดนี้ ถ้าเอาไปใช้แทนคำว่า 'อวด' ผมว่าก็เหมาสมดีนะครับ
เต่าบินมีเมนูขิงให้เลือกทานหลายอย่าง อย่าลืมดื่มน้ำขิงแล้วดูแลสุขภาพด้วยนะคะ